งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
ระบบทวิภาคี คืออะไร
“ทวิภาคี” แปลว่า “สองฝ่าย” ซึ่งหมายถึง สถานประกอบ การและโรงเรียน เยาวชนที่เข้าร่วมฝึกอาชีพในโครงการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีนั้นจะมี 2 สถานภาพในบุคคลเดียวกัน คือ เป็นนักเรียน นักศึกษาในโรงเรียน และในขณะเดียวกันก็เป็นพนักงานฝึกอาชีพของสถานประกอบการด้วยการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เป็นการจัดการศึกษาด้านอาชีพอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการศึกษาในระบบนี้ผู้เรียนหรือผู้ฝึกหัด (Trainee) จะต้องเรียนรายวิชาสามัญ รายวิชาชีพพื้นฐาน โดยเรียนและฝึกปฏิบัติเบื้องต้น ที่สถานศึกษา
วัตถุประสงค์
เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษาประชาชนที่มีงานอาชีพ ได้เพิ่มวุฒิการศึกษา โดยการศึกษาในระบบทวิภาคี และสามารถเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นไป เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาและประชาชนได้รับการฝึกอาชีพ ที่ตรงตามสาขางาน เพื่อเปิดโอกาสให้สามารถทำงานในสถานประกอบการได้
คุณสมบัติของผู้เรียน
สำเร็จการศึกษาระดับชั้น ม.6 / เทียบเท่า / ปวช. ทุกสาขา (มีวุฒิการศึกษาหรือใบรับรองมาแสดง)
มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป
เพศหญิงหรือชาย
มีสภาพร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ เหมาะสมที่จะเรียนวิชาชีพในสาขาวิชาในอาชีพที่สมัครนั้นได้ตลอดหลักสูตร
สามารถฝึกอาชีพในสถานประกอบการได้
เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย
เป็นผู้ที่ไม่เคยมีประวัติ หรือพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับการค้า หรือเสพติดยาเสพติดทุกชนิดมาก่อน
มีใจรักในวิชาชีพที่ตนจะเข้ารับการฝึก
ยินดีปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของสถานประกอบการและสถานศึกษา
ประโยชน์ที่นักศึกษาจะได้รับ
ได้รับการฝึกอาชีพที่ดี ตรงกับความต้องการของผู้เรียน
ได้ฝึกปฏิบัติงานจริงกับเครื่องมือเครื่องจักร และอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน
ได้รับความรู้ทางวิชาการจากสถาบันอาชีวศึกษา
ได้รับค่าตอบแทน / เบี้ยเลี้ยง และความช่วยเหลืออื่น ๆ ด้านการศึกษาจากสถานประกอบการ
มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงานในสาขาอาชีพนั้น ๆ
ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ได้รับวุฒิบัตรการฝึกอาชีพที่สถานประกอบการลงนามร่วมกับสถานศึกษาทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
เป็นการฝึกอาชีพที่ดี และได้รับความรู้ทางด้านวิชาการจากวิทยาลัย ฯ
ได้งานที่มีรายได้ดี
โอกาสในการศึกษาต่อเหมือนนักศึกษาระบบทั่วไป
สาขาวิชาที่เปิดระบบทวิภาคี
ระดับปวช.
1. สาขาวิชาช่างยนต์ (สาขางานยานยนต์)
2. สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง (สาขางานไฟฟ้ากำลัง)
ระดับปวส.
1. สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล (สาขางานเทคนิคยานยนต์อัจฉริยะ)
2. สาขาวิชาไฟฟ้า (สาขางานไฟฟ้ากำลัง)
3. สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ (สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม)
4. สาขาวิชาเทคนิคโลหะ (สาขางานเทคโนโลยีงานเชื่อมโครงสร้างโลหะ)
5. สาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม (สาขางานเทคโนโลยีวิศวกรรมซ่อมบำรุง)
6. สาขาวิชาช่างก่อสร้าง (สาขางานก่อสร้าง)